Monday, January 23, 2017

ข้อควรคำนึงก่อนเช่าเว็บโฮสติ้ง

บริการโฮสติ้ง ข้อควรคำนึงก่อนเช่าเว็บโฮสติ้ง สำหรับทำเว็บไซต์ เว็บแอพพลิเคชั่น

บริการโฮสติ้ง ในประเทศไทยนั้นถือว่ามีผู้ให้บริการอย่างแพร่หลาย และมีให้เลือกมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งแต่ละแพ็คเกจที่ผู้บริการให้เช่าเว็บโฮสติ้งเหล่านี้ก็จัดรูปแบบแพ็คเกจแตกต่างกันไป และระบบก็มีความแตกต่างหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็น cPanel, Plesk, Direct admin เป็นต้น ซึ่งให้แต่ละระบบก็มีจุดเด่น จุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าต้องการใช้ระบบแบบไหนให้ยืดหยุ่นกับระบบเว็บไซต์ของตัวเองให้มากที่สุด สำหรับวันนี้เราจะมากล่าวถึงเว็บโฮสติ้ง และการเลือกเช่าเว็บโฮสติ้ง

บริการโฮสติ้ง


หลายคนที่กำลังมองหาโฮสติ้ง สำหรับเว็บไซต์ของตัวเองอยู่ แล้วยังไม่รู้ว่าควรเริ่มจากตรงไหนดี เข้ามาดูในเว็บฯ ของผู้ให้บริการโฮสติ้งแล้ว เห็นแต่แพ็กเกจเยอะไปหมด คำถามต่อไปคือ เราต้องใช้แพ็กเกจไหน หรืออย่างน้อยๆ โฮสติ้งควรมีอะไรให้เราบ้าง เพื่อเราจะได้มีข้อมูลเบื้องต้นอยู่ในใจ สำหรับการตัดสินใจเลือกบริการโฮสติ้งสักแพ็กเกจ และยังเป็นการทำให้เราไม่ต้องเสียเงินมากเกินความจำเป็นในการซื้อแพ็กเกจโฮสติ้งที่เกินความต้องการของเว็บไซต์เรา
สำหรับบริการ หรือสิ่งที่ควรมีให้ในแพ็กเกจต่ำสุด หรือเบสิคสุดๆ ที่ผู้ให้บริการโฮสติ้งควรมีให้เรา แบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้ดังนี้
ส่วนของพื้นที่การใช้งาน และประมาณข้อมูลเข้าออก
ในส่วนนี้เป็นส่วนหลักในการใช้งานโฮสติ้งอยู่แล้ว โดยผู้ให้บริการควรจะมีปริมาณพื้นที่การใช้งาน (Disk Space) ระบุอยู่ในแพ็กเกจให้ชัดเจน โดยอาจรวมพื้นที่ทั้งหมด ทั้งเว็บไซต์ ฐานข้อมูล และอีเมลล์ เช่นพื้นที่การใช้งานทั้งหมด 300 MB ก็ได้ หรืออาจจะแยกแต่ละอย่างก็ได้ เช่นพื้นที่เว็บไซต์ 100 MB พื้นที่ฐานข้อมูล 100 MB และพื้นที่อีเมลล์ 100 MB ขึ้นอยู่กับการบริการจัดการพื้นที่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของแต่ละผู้ให้บริการ
อีกส่วนคือส่วนของปริมาณข้อมูลเข้าออก ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการระบุค่าการใช้งานประมาณข้อมูลเข้าออก (Data Transfer) แบบเดือนต่อเดือน เช่น ปริมาณข้อมูลเข้าออก 10 GB/เดือน โดยเมื่อครบเดือน ระบบจะทำการนับค่าการใช้งานใหม่ ซึ่งปริมาณข้อมูลเข้าออก เป็นค่าที่ได้จากการที่มีการเข้า และออกของข้อมูลเว็บไซต์เรา ผ่านการ Upload และ Download ตามลำดับ แต่สำหรับผู้ให้บริการบางแห่งที่ระบุในแพ็กเกจว่า ปริมาณข้อมูลเข้าออก ไม่จำกัด นั้น อยากให้ทุกคนระมัดระวังในการเลือกใช้บริการในลักษณะนี้ เนื่องจากมักมีเงื่อนไขแอบแฝง ฉะนั้นหากต้องการใช้งานควรจะศึกษาเงื่อนไขและข้อตกลง อย่างละเอียดเพื่อไม่ให้เสียที หรือเสียค่าปรับแพงๆ ให้ผู้ให้บริการ (บางแห่ง ค่าปรับแพงกว่าค่าบริการโฮสติ้งอีก)
ส่วนของการรองรับภาษาโปรแกรม และระบบฐานข้อมูล
โดยทั่วไปบริการโฮสติ้งจะให้บริการผ่าน 2 ระบบปฏิบัตการหลัก คือ Windows และ Linux โดยส่วนใหญ่ โฮสติ้งที่ให้บริการบนระบบปฏิบัติการ Windows จะรองรับทั้งโปรแกรมภาษา PHP บนฐานข้อมูล MySQL และโปรแกรมภาษา ASP.NET บนฐานข้อมูล MS Access หรือ MS SQL โดยหากเป็นการใช้งานในระดับ MS SQL อาจไม่มีอยู่ในแพคเกจตัวเริ่มต้นของโฮสต์ เนื่องจากต้นทุนค่าซอฟแวร์
กล่าวได้ว่า แพคเกจในระดับเบสิคของโฮสต์ ทั่วๆไปควรจะรองรับ โปรแกรมภาษา PHP และฐานข้อมูล MySQL ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้พัฒนานิยมเขียนกันมากอยู่แล้ว
ส่วนของการให้บริการหลังการขาย หรือ Support
สำหรับส่วนนี้ผู้ให้บริการในประเทศไทยยังไม่มีการแบ่งแยกการให้บริการอย่างชัดเจนเท่าไหร่ โดยบริการหลังการขาย หรือการ Support มักจะเหมือนและเท่าเทียมกันหมดทุกแพ็กเกจ ต่างจากผู้ให้บริการในต่างประเทศที่มีการแบ่งแยกชัดเจน ดังนั้นจึงอยากมาบอกกับผู้ที่กำลังพิจารณา หรือต้องการใช้บริการโฮสต์กับผู้ให้บริการในต่างประเทศ ว่าสำหรับบริการหลังการขาย หรือการ Support ในต่างประเทศนั้น แพ็กเกจต่ำสุด หรือเบสิกสุด โดยส่วนมากจะให้บริการการแจ้งปัญหา หรือติดต่อผ่านช่องทางอีเมลล์ หรือระบบ Ticketing system เท่านั้น ดังนั้นไม่ว่าจะฉุกเฉินแค่ไหน เร่งด่วนแค่ไหน ก็ต้องติดต่อ แจ้งปัญหาทางอีเมลล์ หรือระบบ Ticketing system เท่านั้น หากต้องการติดต่อผ่านช่องทางอื่นเช่น Chat หรือโทรศัพท์ติดต่อนั้นจะต้องใช้บริการในแพ็กเกจสูงๆ หรือต้องซื้อบริการในส่วนนี้เพิ่ม ผู้ให้บริการบางรายที่ค่าบริการโฮสต์มีราคาถูกกว่าผู้ให้บริการอื่นๆ ส่วนมากจะเก็บค่าเพิ่มสำหรับบริการหลังการขาย หรือบริการ Support ทางโทรศัพท์ที่สูงมาก ฉะนั้นก่อนใช้ให้ศึกษาแพ็กเกจให้ดีก่อน จะได้ไม่ต้องเสียอารมณ์เพราะต้องเสียเงินเพิ่มภายหลัง
สรุปง่ายๆ คือ บริการเบื้องต้น หรือเบสิก ที่บริการโฮสติ้งควรจะมีให้บริการคือ พื้นที่ไว้เก็บเว็บไซต์ ฐานข้อมูล และอีเมลล์ ปริมาณข้อมูลเข้าออก ที่ควรระบุว่าให้เราใช้งานได้เท่าไหร่ ควรรองรับภาษาโปรแกรมที่มีการใช้กันทั่วไป และควรมีบริการหลังการขาย หรือบริการ Support ให้ อย่างน้อยคือแจ้งปัญหาผ่านอีเมลล์ และ Ticketing system (สำหรับโฮสต์ในไทยควรมี Support ทางโทรศัพท์ด้วย)
อย่างไรก็ตามข้างบนนี้เพียงแต่บอกถึงบริการเบื้องต้นที่ผู้ให้บริการโฮสติ้งควรมีให้ใช้งาน แต่เราควรหาโฮสติ้งให้เหมาะสมกับเว็บไซต์ และการใช้งานของเรา ไม่ใช่หาแต่แพ็กเกจที่ถูกสุด แต่พอนำมาใช้จริง เว็บ เรากลับใช้งานไม่ได้ เพราะมีความต้องการบริการที่สูงกว่าแพ็กเกจเบื้องต้นนั้นเอง

บริการโฮสติ้ง